เริ่มพรุ่งนี้! กทม. ประกาศอนุญาต เปิดผับบาร์ สถานบันเทิง ถึง 24.00 น.

เริ่มพรุ่งนี้! กทม. ประกาศอนุญาต เปิดผับบาร์ สถานบันเทิง ถึง 24.00 น.

กทม. ร่อนประกาศอนุญาต เปิดผับบาร์ และ สถานบันเทิง ถึง 24.00 น. ย้ำปฏิบัติตามมาตรการเข้ม ป้องกันโควิดระบาด นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ได้ลงนามประกาศ เปิดผับบาร์ กทม. ในเอกสาร สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 53) ด้วยได้มีการประกาศใช้ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 45) ลงวันที่ 30 พ.ค.65

โดยในประกาศระบุว่า “โดยที่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) 

ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่คลี่คลายลง ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินมาตรการทางสาธารณสุขอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องเพื่อควบคุมการระบาด และด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนและประชาชนในการเข้ารับการฉีดวัคซีนและปฏิบัติตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดขึ้นอย่างเคร่งครัดส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวลดลงเป็นลำดับ จนสามารถผ่อนปรนให้ประชาชนและผู้ประกอบการสามารถดำรงชีวิตและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมได้ใกล้เคียงกับปกติมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ดี องค์การอนามัยโลกยังคงระดับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคระบาดใหญ่ (Pandemic) ที่ยังคงจำเป็นต้องคงไว้ซึ่งมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อไปอีกช่วงระยะเวลาหนึ่ง

ซึ่งฝ่ายสาธารณสุขได้ดำเนินการตามแผนงานเพื่อรองรับนโยบายการเปิดประเทศและเตรียมเข้าสู่ระยะเปลี่ยนผ่านที่จะประกาศเป็นโรคประจำถิ่น (Endemic) อันจะเป็นผลให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ควบคู่กับการบริหารจัดการด้านสาธารณสุข และการดำเนินชีวิตของประชาชนกลับสู่สภาวะปกติมากยิ่งขึ้นสอดคล้องกับแนวทางของนานาประเทศ รัฐบาลโดยข้อเสนอของฝ่ายสาธารณสุขจึงเห็นสมควรพิจารณาผ่อนคลาย มาตรการควบคุมและป้องกันโรคให้สอดคล้องกับสถานการณ์

ดังนั้น เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 34(6) และมาตรา 35(1) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ประกอบกับข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 30) ลงวันที่ 1 ส.ค.65 (ฉบับที่ 36) ลงวันที่ 21 ต.ค.64 (ฉบับที่ 37) ลงวันที่ 30 ต.ค.64 (ฉบับที่ 41) ลงวันที่ 8 ม.ค.65 (ฉบับที่ 42) ลงวันที่ 21 ม.ค.65 (ฉบับที่ 44) ลงวันที่ 29 เม.ย.65 และ (ฉบับที่ 45) ลงวันที่ 30 พ.ค.65 ผู้ว่าฯกทม.

โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ตามมติที่ประชุม ครั้งที่ 6/2565 เมื่อวันที่ 30 พ.ค.65 จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

1.สถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน ให้ปิดดำเนินการไว้ก่อน ยกเว้นสถานที่ที่ผ่านการตรวจมาตรฐานความสะอาดปลอดภัยป้องกันโรค COVID – 19 รองรับสุขภาพดีวิถีใหม่ (Thai Stop Covid 2 Plus) ของกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยแล้ว และได้รับอนุญาตจากสำนักงานเขตพื้นที่

สามารถปิดให้บริการได้โดยผู้ประกอบการหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบสถานที่ต้องจัดเตรียมสถานที่ให้เป็นไปตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร(COVID – Free Setting) และต้องกำกับดูแลความพร้อมของบุคลากรผู้ให้บริการและผู้เข้ารับบริการให้ปฏิบัติตามเงื่อนไข เงื่อนเวลา และมาตรการป้องกันโรคต่างๆ ตามที่ราชการกำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะ ดังนี้

(1) การเปิดให้บริการ การจำหน่ายและการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ภายในร้าน สามารถทำได้ไม่เกินเวลา 24.00 นาฬิกา โดยงดกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดความแออัด

(2) ผู้ประกอบการหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบสถานประกอบการต้องดำเนินการจัดให้ผู้ให้บริการและบุคลากรในความรับผิดชอบได้รับการฉีดวัคนครบตามเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนดรวมทั้งได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น (Booster Dose) แล้ว และหากเป็นการบริการลักษณะสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ใช้บริการจะต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา

โดยในทุกสัปดาห์ให้มีการตรวจหาเชื้อโควิด – 19 โดยใช้ชุดตรวจและน้ำยาที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยการติดเชื้อ SARS Cov-2 (เชื้อก่อโรค COVID-19) แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตัวเอง (ชุดตรวจ ATK) รวมทั้งประเมินความเสี่ยงของตนเองผ่านแอปพลิเคชันไทยเซฟไทย (Thai Save Thai) ของกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัย

(3) ผู้ประกอบการหรี่อผู้มีหน้าที่รับผิดชอบสถานประกอบการต้องดำเนินการตรวจคัดกรองผู้ใช้บริการเพื่อความปลอดภัย โดยจะให้บริการได้เฉพาะผู้ใช้บริการที่แสดงหลักฐานว่าได้รับวัคชีนครบตามเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนดและได้รับวัคซึนเข็มกระตุ้น (Booster Dose) แล้วเท่านั้น และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention)

อย่างไรก็ดี มีข้อแนะนำให้ผู้ที่เข้าข่ายเป็นกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิด – 19 ที่จะมีอาการรุนแรงหรือความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิต (กลุ่ม608) เสี่ยงการเข้าใช้บริการในสถานที่ดังกล่าว

2.สถานเสริมความงาม ร้านเสริมสวย แต่งผมหรือตัดผม ร้านทำเล็บ และร้านสัก สามารถเปิดดำเนินการได้โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมป้องกันโรคที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป